มองอาเซียน 360 องศา
( Asean 360 Degree )


aseanmenu2 001aseanmenu2 002aseanmenu2 003aseanmenu2 004aseanmenu2 005aseanmenu2 006aseanmenu2 007aseanmenu2 008aseanmenu2 009aseanmenu2 010aseanmenu2 011

 

 

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)

as0001

อาเซียนจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ หลังการลงนามในข้อตกลงการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๔ รัฐบาลอินโดนีเซียได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา เพื่อใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน อาคารดังกล่าวถูกใช้เป็นสำนักงานใหญ่ถาวรของอาเซียนนับตั้งแต่นั้น

                   สำนักเลขาธิการอาเซียน ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง  ๑๐ ประเทศ และระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันเป็นคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง ๕ ปี (ค.ศ. ๒๐๐๘ – ๒๐๑๒)

                   สำนักเลขาธิการอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑ ในปี ๒๕๑๙ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก

                             สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้าสำนักงาน เรียกว่า "เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเลขาธิการอาเซียนคนแรก คือ H.R. Dharsono ประเทศอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๗ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๗๖ ถึงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๗๘ สำหรับเลขาธิการอาเซียน คนปัจจุบัน คือ        ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ประเทศไทย ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๒๐๐๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๑๒

อาเซียนทำงานร่วมกันมานาน 4 ทศวรรษแล้ว และจะทำงานร่วมกันต่อไป แต่ในทศวรรษที่ 5 นี้อาเซียนเปลี่ยนแปลงปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ อาเซียนโฉมใหม่ คือ อาเซียนของพลเมืองรุ่นใหม่ ที่สานต่อความฝันของรัฐบุรุษผู้ก่อตั้งอาเซียนมาเมื่อปี ค.ศ. 1967 หรือ พ.ศ. 2510 อาเซียนเคยทำงานโดยอาศัยกระบวนการประชุมระหว่างผู้นำรัฐบาลของรัฐสมาชิก หรือการประชุมหารือระหว่างข้าราชการและเจ้าหน้าที่ระดับสูง แล้วให้ระบบราชการของแต่ละประเทศทำงานสานต่อไปตามระบบ

          มาในปี 2008 อาเซียนตกลงกันว่าจะต้องปรับเปลี่ยนการทำงานไปให้เป็นระบบ มากขึ้นโดยให้มีกฎบัตรเสมือนรัฐธรรมนูญกลางของอาเซียน กำหนดกรอบ กระบวนการ และวิธีทำงานของอาเซียนอย่างชัดเจนแน่นอน

          เลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN) 

          และ สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)

          ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนคนที่ 12 ทำงานให้อาเซียนมาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 และจะทำต่อไปจนครบวาระ 5 ปี ถึงวันสุดท้ายของปี 2555

          เมื่อ 24 ปีก่อนหน้านี้ ฯพณฯ แผน วรรณะเมธี คือคนไทยคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ท่านเป็นเลขาธิการอาเซียนคนที่ 6

          สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซีย จัดหาและสร้างอาคารสถานที่ให้กับเลขาธิการอาเซียนและบรรดาเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติ จากประชาชนพลเมืองของ 10 รัฐสมาชิกอาเซียน ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วว่า พร้อมที่จะมาขับเคลื่อนองคาพยพอันยิ่งใหญ่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่งคั่ง มั่นคง และสันติสุข ให้อาเซียนทั้ง 10 ชาติ สร้างสังคมที่มี วิสัยทัศน์ร่วมกัน อัตลักษณ์เดียวกัน หลอมรวมเป็นประชาคมเดียวกัน เรียกว่า “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community)

          สำนักเลขาธิการอาเซียน เลขที่ 70 A ถนนสิสิงคมังคราชา ณ กรุงจาการ์ตา คือที่ทำงานประจำของเลขาธิการอาเซียน, เจ้าหน้าที่, และพนักงานประจำ เป็นสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจกรรมทั้งหลายของอาเซียน คู่ขนานไปกับกิจกรรมที่และประเทศสมาชิกจัดจะจัดขึ้น 

          กฎบัตรอาเซียนบัญญัติว่า ให้เลขาธิการอาเซียนได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งห้าปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้ และให้ได้รับการเลือกจากคนจากชาติของรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร โดยคำนึงตามสมควรถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์ทางวิชาชีพ และความเท่าเทียมกันทางเพศเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียน ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกสอดส่องดูแลความคืบหน้าในงานด้านต่างๆของอาเซียน และเสนอรายงานประจำปีต่อที่ประชุมสุยอดอาเซียน เข้าร่วมประชุมต่างๆที่เป็นกิจกรรมสำคัญของอาเซียน เสนอแนะความคิดเห็นของอาเซียนและเข้าร่วมประชุมกับภาคีภายนอกตามที่ได้รับมอบหมาย

          เมื่ออาเซียนมีรัฐสมาชิก 10 ประเทศ มีประเทศคู่เจรจาหลักอีก 11 ประเทศ และมิตรประเทศอื่นอีกทั่วโลก งานของอาเซียนมีมากมายตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดปี จนเลขาธิการอาเซียนแทบจะไม่มีเวลาอยู่ที่สำนักงานใหญ่ หรือสำนักเลขาธิการอาเซียนมากนัก บ้านพักเลขาธิการอาเซียนที่รัฐบาลอินโดนีเซียจัดให้เป็นอภินันทนาการ แทบจะไม่ค่อยได้ต้อนรับตัวเลขาธิการอาเซียน ผู้เป็นเจ้าของบ้านเลย

          รองเลขาธิการอาเซียน 2 คน เลือกจากรัฐสมาชิกหมุนตามลำดับอักษรชื่อประเทศ อยู่ในตำแหน่ง 3 ปี โดยไม่สามารถต่ออายุได้ และรองเลขาธิการอาเซียนอีกสองคน มีวาระ 3 ปี และต่ออายุได้อีก 3 ปี โดยคัดเลือกแบบเปิดกว้างบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ ไม่ต้องจำกัดสัญชาติ ไม่ต้องหมุนเวียนตำแหน่งไปตามลำดับชื่อประเทศเหมือนกับรองเลขาธิการสองคนแรก

          เลขาธิการอาเซียนเป็นตำแหน่งสำคัญ มีบทบาทสูง แต่มิใช่ตำแหน่งสูงสุดของอาเซียน เพราะเลขาธิการคือหัวฝ่ายบริหารของสำนักงานที่ทำงานให้กับอาเซียนตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดในกฎบัตรอาเซียนและที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลประเทศสมาชิก ซึ่งมีหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมีทั้งที่เรียกว่า

          นายกรัฐมนตรี, ประธานาธิบดี, และพระราชาธิบดีหรือองค์สุลต่าน ผู้นำรัฐบาลทั้ง 10 ท่านนี้เองคือผู้มีสถานภาพและอำนาจในการตัดสินใจสูงสุดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน 

 

 


as0002

 


เปิดตัวเป็นทางการ เลขาฯ อาเซียนคนใหม่ชาวเวียดนาม

as0003

นายเลเลืองมีง (Lê Lương Minh) รมช.การต่างประเทศจากกรุงฮานอย กำลังจะเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนชาวไทยที่จะครบเทอม 5 ปีต้นปี 2556 นี้ คิวได้เวียนบรรจบมาถึงเวียดนามที่จะต้องส่งคนไปทำหน้าที่สำคัญในช่วงเวลาสำคัญข้างหน้าที่อาเซียนกำลังจะเป็นประชาคมใหญ่. -- ภาพ: สำนักข่าวเวียดนาม VNA.

      ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามได้เสนอชื่ออย่างเป็นทางการ นายเลเลืองมีง (Lê Lương Minh) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนหนึ่ง เพื่อไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน สืบต่อแทนนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ จากประเทศไทย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารของกลุ่มมาครบ 5 ปี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเปิดเผยเรื่องนี้ในวันพฤหัสบดี 9 ส.ค.ที่ผ่านมา
       
       ตำแหน่งสำคัญนี้ ได้หมุนเวียนตามตัวอักษรมาถึงรอบของเวียดนาม นายเลืองกำลังจะเข้าทำหน้าที่นี้ระหว่างปี 2556-2563 โดยไปประจำที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
       
       โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม เลืองแทงหงิ (Lương Thanh Nghị) กล่าวว่า ระหว่างการประชุมในกัมพูชาเมื่อเดือนที่แล้ว บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงความเห็นสนับสนุนนายเลืองให้ขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว และจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำของกลุ่มเพื่อขอความเห็นชอบในช่วงปลายปี หนังสือพิมพ์แทงเนียนรายงานในเว็บไซต์
       
       เลขาธิการอาเซียนชาวเวียดนาม กำลังจะเข้ารับตำแหน่งในช่วงเวลาสำคัญที่อาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะรวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวในประชาคมเศรษฐกิจใหญ่ ที่จะมี

สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย

as0004

สถานทูต-สถานกงสุล

ที่อยู่ : เลขที่ 600-602 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ อ.ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ : 0-2252-3135 – 40    แฟกซ์ : 0-2259-4871 , 0-2255-1267

อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. "> This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.    เว็บไซต์ : www.deplu.go.id/bangkok

เวลาทำการ : Visa Section Monday - Friday 09:00-12:00,Visa Collection: Monday - Friday 14:00-15:00

รายละเอียด :  สถานทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย