มองอาเซียน 360 องศา
( Asean 360 Degree )


aseanmenu2 001aseanmenu2 002aseanmenu2 003aseanmenu2 004aseanmenu2 005aseanmenu2 006aseanmenu2 007aseanmenu2 008aseanmenu2 009aseanmenu2 010aseanmenu2 011

 

 


การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รวบรวมโดย   นพพร  วีระกุล

หัวหน้าฝ่ายบรรณสาร  วิทยาลัยการปกครอง

ข้อมูลจาก AEC ศูนย์ข้อมูลความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


คำขวัญของอาเซียน

“ One Vision, One Identity, One Community.”

 หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

as0005

                              ในปัจจุบัน  คำว่า  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ Asean Economic Community : AEC  คงจะคุ้นหูกันมากขึ้น   ในอีก 3 ปีนับจากนี้ คือ ปีพุทธศักราช 2558  หรือ ค.ศ. 2015 ประเทศไทย (THAILAND)พร้อมกับประเทศในกลุ่มอาเซียนอีก 9 ประเทศ  ประกอบด้วย  บรูไน ดารุสซาราม (BRUNIE DARUSSALAM)  ราชอาณาจักรกัมพูชา(KINGDOM OF COMBODIA)   สาธารณรัฐอินโดนีเซีย(REPUBIC OF INDONESIA)   สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC )   สาธารณรัฐมาเลเซีย (FEDERATION OF MALAYSIA)  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์(THE REPUBLIC OF THE UNION OF MYANMAR )  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (THE REPUBLIC OF THE PHILIPPINES )  สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)

ก่อนที่จะทำความเข้าใจถึงผลกระทบทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และด้านที่เป็นผลเสียต่อประเทศไทยที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ควรที่จะทราบความเป็นมาและยุทธศาตร์ที่จะนำพาเราก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 as0006ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ASEAN  Economic  Community  :  AEC )
 

การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (AEC)  สืบเนื่องมาจากการที่    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ดารุสซารามก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน   จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดาเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปีพุทธศักราช 2558

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

อาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สำคัญดังนี้
          1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
          2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
          3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
          4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

โดยมีรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
             การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว เร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขาที่มีความสำคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล แรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบันในอาเซียน
             การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
                               (1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
                               (2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
                               (3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
                               (4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีขึ้น
                               (5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี

ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญลำดับแรกอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่   เกษตร   ประมง   ผลิตภัณฑ์ยาง   ผลิตภัณฑ์ไม้   สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม   อิเล็กทรอนิกส์   ยานยนต์   การขนส่งทางอากาศ   สุขภาพ e-ASEAN   ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์     รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้
การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของอาเซียน   ได้แก่   ยกเลิกภาษีศุลกากรให้หมดไป   ทยอยยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี   ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและง่ายขึ้น   ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนธุรกรรม เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนได้อย่างเสรีในสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น

2. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
                          เป้าหมายสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
                          ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันมี 6 องค์ประกอบหลัก   ได้แก่

                                (1) นโยบายการแข่งขัน

                                (2) การคุ้มครองผู้บริโภค

                               (3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (IPR)

                                         (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

                               (5) มาตรการด้านภาษี

                               (6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนำกฎหมายและนโยบายการแข่งขันมาบังคับใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาคธุรกิจที่เป็นธรรม นำไปสู่การเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว

3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
                          การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบ คือ

                          (1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

                                  (2) ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในระดับ SME และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้สามารถดาเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
                        อาเซียนอยู่ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันและมีเครือข่ายกับโลกสูง โดยมีตลาดที่พึ่งพากันและอุตสาหกรรมระดับโลก ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนมีพลวัตรเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ผลิตของโลก รวมทั้งทำให้ตลาดภายในยังคงรักษาความน่าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจึงต้องมองออกไปนอกภูมิภาค
                     อาเซียนบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยดำเนิน 2 มาตรการคือ                                                                                 

                     (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซียน

                       (2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานโลก

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย